info graphic การสื่อสารด้วยภาพ
info graphic การสื่อสารด้วยภาพ : คำพูดคลาสิคที่ว่าคนไทยอ่านหนังสือไม่เกินปีละ 6 บันทัดนั้น ดูจะเป็นยาขมสำหรับคนทำหนังสือ หรือสื่อที่ต้องใช้ตัวหนังสือเป็นสื่อหลักในการสื่อสาร
หลายคนพยายามแก้ปัญหาด้วยวิธีการต่างๆนาๆดังที่เห็นได้ทั่วไปอาทิเช่น ปากกาหรือเครื่องแสกนตัวหนังสือแล้วแปลให้เป็นเสียงพูด หรือแม้แต่หนังสืออิเล็คทรอนิคที่บรรจุอยู่ใน Tablet หรือ Smart Phone ก็ยังมีระบบการช่วยอ่านออกเสียงให้ฟังผู้ใช้ได้ฟังแทนการอ่านตามปกติ สังเกตุได้ว่าอาการขี้เกียจจะอ่านหนังสือของเราๆท่านๆดูจะแก้ยากเสียจนต้องสร้างเทคโนโลยีมากมายมาช่วยแก้ปัญหา
ภาพจากเว็บไซด์ : http://www.alepaint.com/board_reply.php?txtNo=TURBd01EQXdNREV6TURZPQ==&txtroom=
Info_Graphic กับการนำมาประยุกต์ใช้ในชิ้นงานโฆษณา
ทางออกง่ายๆสำหรับคนทำสื่อคือการใช้ภาพหรือ Graphic ที่มีความหมายสอดคล้องกับเนื้อหาที่ต้องการนำเสนอมาช่วยในการสื่อสารและลดทอนปริมาณการใช้ตัวอักษรในสื่อลง ดังคำที่ว่า 1 ภาพแทนหมื่นล้านตัวอักษร บางครั้งการอ่านเรื่องขำขัน 1 ย่อหน้า ยังไม่ขำเท่ากับการดูภาพการ์ตูนสามช่องขาวดำ ที่เขียนด้วยลายเส้นง่ายๆ แต่สื่อความหมายได้โดยใจจนคนอ่านหัวเราะตัวงอตกเก้าอี้ไป หรือการเขียนกราฟแผนภูมิแสดงความสัมพันธ์ของเนื้อหาที่มีความซับซ้อนให้เข้าใจได้ง่าย เหล่านี้เราเรียกว่า Info-Graphic ซึ่งให้นิยามง่ายๆคือการใช้ภาพมาช่วยในการสื่อความหมายยนั่นเอง
ถ้าท่านอ่านมาถึงตรงนี้แสดงว่าท่านอ่านไปมากกว่า 100 ตัวอักษรแล้ว คราวนี้มาเข้าเรื่อง กราฟฟิค ที่บริษัท ไจแอนท์พอยท์ จำกัด นำมาประยุกต์ใช้ในงานออกแบบชิ้นงานโฆษณากัน…. เรื่องมีอยู่ว่าหลายปีมานี้ลูกค้าเกือบทุกรายเขาเราล้วนบอกเป็นเสียงเดียวกันว่า กลุ่มเป้าหมายของเค้าไม่ชอบที่จะเห็นตัวอักษรจำนวนมากอยู่ใน Brochure / Catalog / Salekit / Profile เอกสารที่มีแต่ตัวอักษรไม่ประสบความสำเร็จในการสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมาย
พวกเราเลยปรับเปลี่ยนวิธีการนำเสนอ พร้อมกันนั้นก็พยายามที่จะเรียงลำดับเนื้อหาของชิ้นงานโฆษณาใหม่ให้น่าสนใจ ตัดน้ำออก เอาไว้แต่เนื้อ พร้อมใส่บุคลิกภาพของ Brand นั้นๆเพื่อให้เกิดการจดจำ และเชื่อมเนื้อหาส่วนขยายของ อินโฟกราฟฟิค ไปสู่สื่ออื่นๆด้วยเทคโนโลยี Multimedia ที่มีใช้กันอยู่ทั่วไปในปัจจุบันอาทิเช่น Mobile Application / Website / Social Media เป็นต้น
ตัวอย่างคู่มือประกันที่ที่นำเอารูปแบบ อินโฟร์กราฟฟิค มาใช้ลดปริมาณตัวอักษรที่ดูน่าเบื่อ
ให้กลายเป็น Graph และ Icon ที่สื่อความหมายแบบเข้าใจง่าย
ตัวอย่าง Salekit ที่ใช้การนำเสนอแบบ อินโฟร์กราฟฟิค มาช่วยอธิบายรายละเอียดของผลิตภัณฑ์
หากผู้อ่านต้องการรายละเอียดเพิ่มเติมสามารถใช้มือถือหรือ Tablet สแกนเอารายละเอียดที่ฝังอยู่ในเล่มออกมาอ่านต่อได้
ตัวอย่าง Comapany Profile ที่นำเอารูปแบบของ อินโฟร์กราฟฟิค มาใช้สร้างเป็น Timeline ง่ายๆ
ให้ผู้อ่านเข้าใจสินค้าและบริการด้วยการดูภาพ